ทุกคนน่าจะเคยเห็นดาวตกกันบ้างไม่มากก็น้อย เพราะมันเกิดขึ้นตลอดเวลา เพียงแต่เราไม่ได้สังเกตกันเท่านั้นเอง วันนี้มาทำความรู้จัก ฝนดาวตก กันว่ามันจะเกิดจากอะไร แล้วมันจะส่งผลอะไรต่อโลกของเราหรือไม่ เรามีคำตอบมาให้เพื่อนๆกันแล้ว

ฝนดาวตก เกิดจากโลกโคจรเคลื่อนที่ฝ่าเข้าไปในธารอุกาบาต ะเก็ดดาวเหล่านี้เป็นเศษขยะที่เกิดจากดาวหางเคยโคจรผ่านเข้ามา เมื่อดาวหางผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน จะเกิดการระเหิดของมวลสารออกไปเป็นสิ่งที่เราเห็นปรากฏเป็นหางของดาวหาง ฝุ่นที่ถูกพ่นออกไปนี้ จะคงอยู่ตามเส้นทางโคจรของดาวหางเดิม

แม้ดาวหางจะโคจรผ่านไปแล้วก็ตาม เมื่อโลกโคจรฝ่าเข้าไป ฝุ่นเหล่านั้นก็จะตกลงสู่บรรยากาศโลกกลายเป็นดาวตก เนื่องจากอัตราการตกนี้ถี่กว่าอัตราการตกในสภาวะปกติ เราจึงเรียกว่า ปรากฏการณ์ฝนดาวตก ดาวตกที่เกิดขึ้นจะดูเหมือนกับว่ามีทิศทางมาจากจุด ๆ หนึ่งบนท้องฟ้า ซึ่งเรียกว่า เรเดียนต์ ฝนดาวตกใดมีเรเดียนต์อยู่ที่กลุ่มดาวใด ก็จะมีชื่อตามกลุ่มดาวนั้น เช่น ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต มีจุดเรเดียนต์อยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ มีจุดเรเดียนต์อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ เป็นต้น

ฝนดาวตก ในปี 2563

ฝนดาวตก ในปี 2563

ฝนดาวตก ช่วงที่ตก คืนที่มีมากที่สุด เวลาที่จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้า (ประมาณ)อัตราตกสูงสุดในประเทศไทย (ดวง/ชั่วโมง) {ไม่ใช่ ZHR} หมายเหตุ
ควอดแดรนต์ 28 ธ.ค. – 12 ม.ค. 3/4 ม.ค. 02:00 น. 5 (5-6 น.)
พิณ 16-25 เม.ย. 21/22 เม.ย. 22:00 น. 15 (3-5 น.)
อีตาคนแบกหม้อน้ำ 19 เม.ย. – 28 พ.ค. 4/5/6 พ.ค. 02:00 น. 25 (4-5 น.)แสงจันทร์รบกวน
เดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ 12 ก.ค. – 23 ส.ค. 29/30 ก.ค. 21:00 น. 20 (2-4 น.)แสงจันทร์รบกวนก่อนตี 2
เพอร์ซิอัส 17 ก.ค. – 24 ส.ค. 12/13 ส.ค. 22:30 น. 45 (4-5 น.)แสงจันทร์รบกวนหลังตี 1
นายพราน 2 ต.ค. – 7 พ.ย. 20/21 ต.ค. 22:30 น. 20 (3-5 น.)
สิงโต 6-30 พ.ย. 16/17/18 พ.ย. 00:30 น. 15 (4-6 น.)
คนคู่ 4-17 ธ.ค. 13/14 ธ.ค. 20:00 น. 115 (2-4 น.)

หากใครต้องการเห็นฝนดาวตกในปี 2563 แบบเยอะที่สุดให้รอคอยช่วงวันที่ 28 ธันวาคม – มกราคม คาดการณ์ว่าปีนี้จะมีอัตราการตกสูงสุดถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวลา 03:00 น. ถึงรุ่งเช้าของวันที่ 4 มกราคม 2563 จุดศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวเครื่องมือเดินเรือ (Quadrans Muralis)

ตลอดทั้งปีมีปรากฏการณ์ฝนดาวตก ดังนี้

  • ฝนดาวตกควอดรานติดส์ 3-4 มกราคม (เฉลี่ย 120 ดวงต่อชั่วโมง)
  • ฝนดาวตกไลริดส์ 22-23 เมษายน (เฉลี่ย 20 ดวงต่อชั่วโมง)
  • ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ 5-6 พฤษภาคม (เฉลี่ย 50 ดวงต่อชั่วโมง)
  • ฝนดาวตกเดลต้า-อควอริดส์ 28-29 กรกฎาคม (เฉลี่ย 25 ดวงต่อชั่วโมง)
  • ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ 12-13 สิงหาคม (เฉลี่ย 110 ดวงต่อชั่วโมง)
  • ฝนดาวตกทอริดส์ใต้ 10-11 ตุลาคม (เฉลี่ย 5 ดวงต่อชั่วโมง)
  • ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ 21-22 ตุลาคม (เฉลี่ย 20 ดวงต่อชั่วโมง)
  • ฝนดาวตกทอริดส์เหนือ 11-12 พฤศจิกายน (เฉลี่ย 5 ดวงต่อชั่วโมง)
  • ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 17-18 พฤศจิกายน (เฉลี่ย 15 ดวงต่อชั่วโมง)
  • ฝนดาวตกเจมินิดส์ 13-14 ธันวาคม (เฉลี่ย 150 ดวงต่อชั่วโมง)
  • ฝนดาวตกเออร์ซิดส์ 22-23 ธันวาคม (เฉลี่ย 10 ดวงต่อชั่วโมง)

หากใครชอบดูฝนดาวตกก็อย่าลืมสังเกตในช่วงเวลาที่เห็นได้มากที่สุดกันนะ สวยเหมือนในรูปเลยทีเดียว พอเห็นแล้วอย่าลืมอธิษฐานตามความเชื่อด้วย เผื่อได้อะไรดีๆ คราวนี้เราอยากจะชวนเที่ยวคีรีวงหมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดนครราชสีมา แหล่งท่องเที่ยวที่สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ สายใยของการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน และลงตัว ทำให้ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมหเหล่านักท่องเที่ยวหลายๆ คนถึงติดใจและหลงในเสน่ห์ของหมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้

บทความที่คุณอาจสนใจ : มารู้จักกับ “ไฟโบรมัยอัลเจีย” โรคเรื้อรังใกล้ตัว

บทความแนะนำ